พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
สรุปภาพรวมแบบสั้น ๆ
เพื่อคุ้มครองเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐซึ่งได้ปฏิบัติงานในหน้าที่และเกิดความเสียหายขึ้น จากความไม่จงใจหรือความผิดพลาดเพียงเล็กน้อย โดยไม่ให้นำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมในระบบกฎหมายแพ่งมาใช้บังคับ แต่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดทางละเมิดในการปฏิบัติงานในหน้าที่เฉพาะเมื่อเป็นการจงใจกระทำเพื่อการเฉพาะตัว หรือจงใจให้เกิดความเสียหายหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น
นิยามศัพท์ที่สำคัญ (มาตรา 4)
เจ้าหน้าที่ = ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่น ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งในฐานะเป็นกรรมการหรือฐานะอื่นใด
หน่วยงานของรัฐ
- กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม
- ราชการส่วนภูมิภาค
- ราชการส่วนท้องถิ่น
- รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดย พ.ร.บ. หรือ พ.ร.ฎ.
- หน่วยงานอื่นของรัฐที่มี พ.ร.ฎ กำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐ
เหตุที่หน่วยงานต้องชดใช้ค่าเสียหาย (มาตรา 5)
หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตน
- ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่
- ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐได้โดยตรง
- ฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้
- ถ้าการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใดให้ถือว่ากระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิด
เหตุส่วนตัวของเจ้าหน้าที่ (มาตรา 6)
ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่
- มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่
- เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในการนั้นเป็นการเฉพาะตัว
- ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง
- ฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้
การเข้ามาเป็นคู่ความในคดี (มาตรา 7)
- ในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องหน่วยงานของรัฐ
- ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่าเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดหรือต้องร่วมรับผิด
- ในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องเจ้าหน้าที่
- ถ้าเจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดหรือร่วมรับผิด
- หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีสิทธิขอให้ศาลที่พิจารณาคดีนั้นอยู่เรียกเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐ แล้วแต่กรณี เข้ามาเป็นคู่ความในคดี
- ถ้าศาลพิพากษายกฟ้อง เพราะเหตุที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ที่ถูกฟ้องมิใช่ผู้ต้องรับผิด ให้ขยายอายุความฟ้องร้องผู้ที่ต้องรับผิดซึ่งมิได้ถูกเรียกเข้ามาในคดีออกไปถึง 6 เดือน นับแต่วันทที่คำพิพากษานั้นถึงที่สุด
กรณีที่จะเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าเสียหายได้ (มาตรา 8)
ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่
- หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้
- ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วย
- ความจงใจ
- ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
- ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วย
- สิทธิเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้คำนึงถึง
- ระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำ
- ความเป็นธรรมในแต่ละกรณี
- ถ้าการละเมิดเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐหรือระบบการดำเนินงานส่วนรวม ให้หักส่วนแห่งความรับผิดชอบดังกล่าวออกด้วย
- กรณีที่การละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคน
- มิให้นำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับ
- เจ้าหน้าที่แต่ละคนต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตนเท่านั้น
อายุความฟ้องเรียกเงินคืน (มาตรา 9)
ถ้าหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย
- มีสิทธิที่จะเรียกให้อีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนมีกำหนดอายุความ 1 ปี
- นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้นแก่ผู้เสียหาย
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหาย (มาตรา 10)
กรณีเจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ
- หน่วยงานของรัฐที่ตนสังกัด
- หน่วยงานของรัฐอื่น
(1) ถ้าเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ => ให้นำมาตรา 8 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(2) ถ้ามิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ => ให้บังคับตาม ป.พ.พ.
อายุความ (1), (2)
- 2 ปี
- นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่
(3) กรณีที่หน่วยงานของรัฐเห็นว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ต้องรับผิด แต่กระทรวงการคลังตรวจสอบแล้วเห็นว่าต้องรับผิด
- อายุความ 1 ปี
- นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
กรณีผู้เสียหายเรียกให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าเสียหาย (มาตรา 11, 12)
กรณีที่ผู้เสียหายเห็นว่าหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดตามมาตรา 5
- ผู้เสียหายยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐให้พิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
- หน่วยงานของรัฐต้องออกใบรับคำขอให้ไว้เป็นหลักฐานและพิจารณาคำขอนั้นโดยไม่ชักช้า
- พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน
- หากไม่ทัน ต้องรายงานปัญหาและอุปสรรคให้ รมต. เจ้าสังกัดหรือกำกับหรือควบคุมดูแลทราบ และอนุมัติขยายเวลา
- ขยายเวลาได้อีกไม่เกิน 180 วัน
- เมื่อหน่วยงานขอรัฐมีคำสั่งแล้ว หากผู้เสียหายไม่พอใจ มีสิทธิร้องทุกข์ต่อ คกก.วินิจฉัยร้องทุกข์ฯ (มาตรา 14 => ศาลปกครอง)
- ภายใน 90 วัน
- นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผล
- กรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นชำระเงินภายในเวลาที่กำหนด
- หน่วยงานของรัฐได้ใช้ให้แก่ผู้เสียหายตามมาตรา 8
- เจ้าหน้าที่ผู้นั้นได้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 10 ประกอบมาตรา 8
การผ่อนชำระค่าเสียหาย (มาตรา 13)
ให้ ครม. จัดให้มีระเบียบเพื่อให้เจ้าหน้าที่ซึ่งต้องรับผิดตามมาตรา 8, 10 สามารถผ่อนชำระเงินที่ต้องรับผิดได้ โดยคำนึงถึง
- รายได้
- ฐานะ
- ครอบครัวและความรับผิดชอบ
- พฤติการณ์แห่งกรณี