แนะนำเครื่องมือที่ใช้พัฒนา MEAN Stack #2

Line
Facebook
Twitter
Google

แนะนำเครื่องมือที่ใช้พัฒนา MEAN Stack

1. Console Emulator คือ เครื่องมือที่ใช้ในการสั่งติดตั้ง Package และคำสั่งต่างๆ ที่ต้องสั่งให้ MEAN Stack ทำงาน ซึ่งถ้าใช้ MAC OS หรือ Linux ก็สามารถใช้โปรแกรม Terminal ได้เลย แต่สำหรับ Windows แนะนำให้ใช้โปรแกรม CMDER ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ http://cmder.net (แนะนำให้ดาวน์โหลดแบบ FULL เลยครับ เนื่องจากขนาดไม่ใหญ่มาก) เมื่อดาวน์โหลดมาแล้วสามารถแตกไฟล์ (Unzip) และใช้งานได้ทันที (ในเครื่องต้องมี Visual C++ ด้วยนะ) โดยโปรแกรมตัวนี้จะมีคำสั่งสำหรับใช้งานครบถ้วนเลยทีเดียว สามารถใช้งานโดยใช้คำสั่ง UNIX Base เช่นเดียวกับ MAC OS และ Linux ทำให้สามารถใช้ Command Line ได้ง่ายขึ้น (ได้ทดลองใช้ด้วยตัวเองแล้ว เจ๋งดีเลยครับ ใช้งานง่าย แนะนำๆ)

2. Text Editor คือ เครื่องมือที่จะใช้สำหรับเขียนโค้ด ในที่นี้แนะนำหลายตัวหน่อยนะครับ (ในวิดีโอแนะนำ Sublime Text ตัวเดียว)

2.1 Sublime Text (https://www.sublimetext.com/)
2.2 Visual Studio Code (https://code.visualstudio.com/)
2.3 Atom (https://atom.io/)

สามารถเลือกใช้งานได้ตามใจชอบเลยครับ ส่วนตัวชอบ Visual Studio Code นะครับ เพราะรู้สึกมันเบาและทำงานรวดเร็วดี
ถ้าอยากให้สะดวกมากขึ้นก็ติดตั้งโปรแกรมเสริม (Extension) เข้าไปด้วยนะครับ เช่น SASS, Jade เป็นต้น

สำหรับ Visual Studio Code ดูการติดตั้งโปรแกรมเสริมเพิ่มเติมได้ที่ เตรียม Visual Studio Code สำหรับ React Native #2

สำหรับ Atom ดูการติดตั้งโปรแกรมเสริมเพิ่มเติมได้ที่ เตรียม Atom สำหรับ React Native #3

เนื้อหานี้สรุปมาจากวิดีโอสอน MEAN Stack ของ SIPA ด้านล่างนี้

Line
Facebook
Twitter
Google
การติดตั้งและใช้งาน Datatables ร่วมกับ Angular
[ตอนที่ 16] Social App Workshop ด้วย ASP.NET Core 3 กับ Angular 9 การทำ Sorting
[ตอนที่ 15] Social App Workshop ด้วย ASP.NET Core 3 กับ Angular 9 การทำ Filtering
[ตอนที่ 14] Social App Workshop ด้วย ASP.NET Core 3 กับ Angular 9 การใช้งาน Paging
เตรียม Atom สำหรับ React Native #3
เตรียม Visual Studio Code สำหรับ React Native #2
การติดตั้ง React Native บน macOs #1
การกำหนดค่า TF_MIN_GPU_MULTIPROCESSOR_COUNT เพื่อให้ TensorFlow ใช้งาน GPU ทุกตัว
ติดตั้ง Ubuntu 17.04 ใช้งานร่วมกับ Windows 10
การติดตั้ง TensorFlow & Caffe บน Ubuntu 16.04