การติดตั้ง React Native บน macOs #1

Line
Facebook
Twitter
Google

เริ่มต้นกับ React Native

การติดตั้ง React Native บน macOs

React Native มันเปน Cross Platform ไง คือทำทีเดียวได้แอปฯ หลายตัว ทั้ง Android ทั้ง iOS เลย และที่มันเด่นก็คือมันเร็วด้วย ที่เร็วก็เพราะมันเป็น Native ไง ถึงแม้มันจะเป็น Cross Platform แต่ตอนทำงาน React Native มันแปลงโค้ดเป็น Native นั่นเอง

ในที่นี้แนะนำให้ใช้ macOS นะครับ เพราะมันรองรับทั้ง iOS และ Android ในทีเดียว ไม่ต้องยุ่งยาก แต่ถ้าทำใน Windows ก็ต้องหาวิธีรันทดสอบใน iOS เองนะ มีคนเขียนไว้เยอะแล้วเช่นกัน

คงไม่ต้องอธิบายกันมากมายแล้วนะครับว่า React Native คืออะไร เพราะตอนนี้สามารถค้นหาได้ทั่วไป (รวมทั้งการติดตั้งก็เช่นกัน) แต่ที่ทำนี่ก็เพื่อบันทึกเอาไว้ ว่าต้องทำอะไรบ้าง Step by Step ก็เลยไม่ขออธิบายมากก็แล้วกัน

เครื่องที่ใช้เป็น macOS ที่ติดตั้งใหม่ๆ ยังไม่ค่อยได้ลงอะไรมากมายนัก แต่ก็ลง xcode และ android studio ไว้รอแล้วแหละ

เริ่มต้นติดตั้ง React Native กันเลย

เปิด Terminal แล้วทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

Install Homebrew

/usr/bin/ruby -e "$(curl -fsSL https://raw.githubusercontent.com/Homebrew/install/master/install)"

Installing React dependencies

brew install node
brew install watchman
npm install -g react-native-cli

ลองสร้างโปรเจค Hello World เพื่อทดสอบ

เพื่อให้โปรเจคไม่ปะปนกับอย่างอื่นขอสร้าง Folder สำหรับเก็บ React Project ไว้ก่อนนะ

mkdir ReactProjects
cd ReactProjects/
react-native init HelloWorld

ลองรันโปรเจค HelloWorld บน iOS

ก่อนอื่นต้องติดตั้ง xcode ก่อนนะครับ อย่าลืม! เพราะมันต้องใช้ไง ไม่งั้นจะรันยังไง?

cd HelloWorld/
react-native run-ios

รอสักครู่…..แล้วก็…..
นี่ไง React Native แอปแรกของเรา

การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น

ถ้าเจอปัญหารันแล้ว error ลองแก้ไขโดยใช้คำสั่งดังนี้

sudo lsof -i :8081
kill -9 [PID]

ตรง [PID] ก็ดู PID จากคำสั่ง sudo lsof -i :8081 แล้วเอามาใส่แทน [PID] เพื่อ Kill process ที่ใช้ port 8081 นี้อยู่นะ หรือไม่ก็เปลี่ยนไปใช้ port อื่นเลย ดูเพิ่มเติมที่ https://facebook.github.io/react-native/docs/troubleshooting.html#content

เสร็จแล้วก็ลองสั่งรันอีกที (น่าจะได้แล้วนะ)

ถ้ายังไม่ได้ โดยที่ยังมี Error ว่า cannot find entry file index.ios.js in any of the roots: …

ลองรันด้วยคำสั่ง

npm start

ลองรันโปรเจค HelloWorld บน Android

ก่อนอื่นต้องติดตั้ง Android Studio หรือไม่ก็พวก Genymotion ไรงี้ ก่อนนะครับ อย่าลืม! เพราะมันต้องใช้ไง ไม่งั้นจะรันยังไง?

เริ่มแรกเปิด Android Studio แล้วเปิด AVD Manager เพื่อสร้าง AVD ขึ้นมาสำหรับ Run ทดสอบ ศึกษาเพิ่มเติมที่ https://developer.android.com/studio/run/managing-avds.html

เมื่อสร้างแล้วก็ Run AVD ให้พร้อมใช้งานไว้

จากนั้นทำการสั่งรันโปรเจคเพื่อทดสอบบน Android โดยใช้คำสั่ง

react-native run-android

แล้วก็รอสักครู่ใหญ่ๆ ก็จะได้หน้าจอบน Android แบบนี้

ข้อมูลเพิ่มเติมศึกษาได้ที่ https://facebook.github.io/react-native/docs/getting-started.html

สำเร็จแล้ว หลังจากนี้ก็ลองแก้ไขไฟล์ index.ios.js และ index.android.js ดู ให้ได้อย่างน้อยแบบนี้

แนะนำให้ใช้ Visual Studio Code ในการแก้โค้ด ด้วยเหตุผลเพราะเร็ว ง่าย มีตัวช่วยเยอะ แถมยังอินเทรนด้วย

Line
Facebook
Twitter
Google
การติดตั้งและใช้งาน Datatables ร่วมกับ Angular
[ตอนที่ 16] Social App Workshop ด้วย ASP.NET Core 3 กับ Angular 9 การทำ Sorting
[ตอนที่ 15] Social App Workshop ด้วย ASP.NET Core 3 กับ Angular 9 การทำ Filtering
[ตอนที่ 14] Social App Workshop ด้วย ASP.NET Core 3 กับ Angular 9 การใช้งาน Paging
เตรียม Atom สำหรับ React Native #3
เตรียม Visual Studio Code สำหรับ React Native #2
การติดตั้ง React Native บน macOs #1
การกำหนดค่า TF_MIN_GPU_MULTIPROCESSOR_COUNT เพื่อให้ TensorFlow ใช้งาน GPU ทุกตัว
ติดตั้ง Ubuntu 17.04 ใช้งานร่วมกับ Windows 10
การติดตั้ง TensorFlow & Caffe บน Ubuntu 16.04