การจัดการเกี่ยวกับ Directory Listing บน Linux Server

Line
Facebook
Twitter
Google

โดยปกติแล้ว เมื่อเราเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่าง ๆ Web Server จะแสดงเนื้อหาจากไฟล์ที่กำหนดให้เป็นไฟล์หน้าหลัก (Index) เช่น index.html index.php default.aspx เป็นต้น ในกรณีที่ไม่มีไฟล์ Index เหล่านั้นอยู่ จะมีวิธีการจัดการ 2 แบบ คือ

  1. ไม่ต้องแสดงอะไรทั้งนั้น เวลาเข้าไปใน url ก็จะพบข้อความประมาณว่าไม่มีหน้านั้นอยู่ (Error 404/403)
  2. แสดงรายการไฟล์ที่มีอยู่ในตำแหน่งนั้น ๆ เช่น ถ้าเข้าไปที่ https://samrid.com/images-resize/ ก็แสดงไฟล์ทั้งหมดที่มีอยู่ใน images-resize ออกมาให้เลือกดูได้ ดังภาพ

ที่กล่าวมาข้างต้นมันคือเรื่องของ Directory Listing ซึ่งเราสามารถกำหนดเป็นจุด ๆ ได้ว่าแต่ละไดเรกทอรี่ เราอยากจะให้แสดงแบบไหน โดยใช้ไฟล์ .htaccess ซึ่งเป็นไฟล์สำหรับควบคุมการเข้าถึงบน Linux Server มาดูทีละแบบกัน

แบบที่ 1 ปิดการแสดงผล Directory Listing (Disable Directory Listing)

ทำได้โดยสร้างไฟล์ .htaccess ขึ้นมา แล้วใส่โค้ดตามด้านล่างนี้

Options -Indexes

Save .htaccess แล้วนำไปปใส่ใน Folder ที่ต้องการ และทดลองดูผลที่เกิดขึ้น จะเห็นข้อความว่า 404 หรือ 403 แล้วแต่ Server

แบบที่ 2 เปิดการแสดงผล Directory Listing (Enable Directory Listing)

ทำได้โดยสร้างไฟล์ .htaccess ขึ้นมา แล้วใส่โค้ดตามด้านล่างนี้

Options +Indexes

Save .htaccess แล้วนำไปปใส่ใน Folder ที่ต้องการ และทดลองดูผลที่เกิดขึ้น จะเห็นไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ใน Folder นั้น ตัวอย่างลองเข้าไปดูที่ https://samrid.com/images-resize/

Line
Facebook
Twitter
Google
การติดตั้งและใช้งาน Datatables ร่วมกับ Angular
[ตอนที่ 16] Social App Workshop ด้วย ASP.NET Core 3 กับ Angular 9 การทำ Sorting
[ตอนที่ 15] Social App Workshop ด้วย ASP.NET Core 3 กับ Angular 9 การทำ Filtering
[ตอนที่ 14] Social App Workshop ด้วย ASP.NET Core 3 กับ Angular 9 การใช้งาน Paging
เตรียม Atom สำหรับ React Native #3
เตรียม Visual Studio Code สำหรับ React Native #2
การติดตั้ง React Native บน macOs #1
การกำหนดค่า TF_MIN_GPU_MULTIPROCESSOR_COUNT เพื่อให้ TensorFlow ใช้งาน GPU ทุกตัว
ติดตั้ง Ubuntu 17.04 ใช้งานร่วมกับ Windows 10
การติดตั้ง TensorFlow & Caffe บน Ubuntu 16.04