สรุปประเด็นบล็อกเชนเบื้องต้นและการประยุกต์ใช้ในฟินเทค

Line
Facebook
Twitter
Google

สรุปประเด็นบล็อกเชนเบื้องต้น (Basic Block Chian)

  • ในอนาคต Block chain จะมีผลต่อชีวิตคนเราเท่าๆ กับที่ internet มีผลกับคนเราทุกวันนี้
  • Block chain เป็นนวัตกรรมที่ยอดเยี่ยมที่สุดที่เกิดขึ้นมาในช่วงเวลานี้
  • Block chain ถูกมองว่าเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญ และจะมีผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์ภายใน 5-10 ปี
  • Block chain จะมีการลงทุนเติบโตขึ้นและมีศักยภาพอย่างมาก
  • Block chain เป็นเทคโนโลยีเบื้องหลังของ Bitcoin
  • Bitcoin คือ Crypto currency สกุลหนึ่ง
  • Crypto currency เป็นเทคโนโลยีในการโอนเงินโดยไม่มีธนาคารเป็นเจ้าของ ทุกคนสามารถตรวจสอบธุรกรรมได้
  • Crypto currency สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสกุลต่างๆ ได้ มีอัตราการแลกเปลี่ยนและการเจริญเติบโตสูง ปัจจุบันมีมูลค่าสูงประมาณ 140,000 บาท ต่อ 1 bitcoin
  • ปัจจุบัน Crypto currency ได้รับความเชื่อถือมากขึ้น
  • Bitcoin สามารถใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์และมือถือ สามารถสร้างบัญชีได้ทันที สามารถโอนเงินแลกเปลี่ยน ซื้อสินค้าได้ โดยมีคอมพิวเตอร์เป็นผู้ตรวจสอบและบันทึกธุรกรรมต่างๆ
  • สิ่งที่เก็บไว้ใน Bitcoin block chain เป็นข้อมูลธุรกรรมที่ทุกคนเข้าไปตรวจสอบได้ โดยเข้าไปที่ bitcoin info ซึ่งมีลักษณะเป็น block ของช่วงเวลา ในแต่ละ block จะมีรายละเอียดว่าใครโอนเงินให้ใคร
  • Bitcoin มีข้อมูลธุรกรรมเก็บอยู่ใน lecture of transaction
  • Bitcoin เป็นข้อมูลที่มีมูลค่าสูง ต้องมีองค์กรกลางจัดเก็บ จึงมีปัญหาว่าถ้ามีข้อมูลผิดพลาดหรือการโกงกัน องค์กรที่เป็นตัวกลางจะต้องรับผิดชอบและอาจล้มละลายหากมีมูลค่าสูง จึงมีแนวคิดว่าควรจะเก็บข้อมูลแบบ Distributed คือให้ทุกคนช่วยกันเก็บข้อมูล แต่ละเครื่องจะเก็บข้อมูลไว้ จึงมีปัญหาต่อไปว่าข้อมูลที่เก็บอยู่ในแต่ละเครื่องอาจจะไม่ตรงกัน จะรู้ได้อย่างไรว่าข้อมูลใดถูกต้องและน่าเชื่อถือ Block chain จึงถูกคิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหานี้
  • Block chain จะเก็บ transaction ทุกๆ ครั้งที่เกิดขึ้นไว้ใน block และปิดไว้เมื่อเสร็จสิ้นธุรกรรมตามช่วงเวลานั้นๆ และจะทำการตรวจสอบความถูกต้องผ่าน hash function ที่มีขนาดแน่นอน (fixed size) ซึ่งค่า hash นี้จะสามารถนำมาตรวจสอบข้อมูล transaction แต่ละรายการได้ว่ารายการใดถูกต้อง โดยเทียบกับค่า hash ที่ถูกเก็บไว้
  • เมื่อมีรายการแต่ละรายการบันทึกไว้ใน block แล้วก็นำมาต่อกัน โดยจัดเรียงกันตามลำดับ จึงกลายเป็น block chain และสามารถนำมาตรวจสอบโดยใช้ hash function เดิมกับ block เดิมที่เกิดขึ้นก่อนไปเรื่อยๆ จะทำให้ได้ค่า hash ที่มีขนาดเท่าเดิมเสมอแม้ block chain จะมีความยาวขนาดใดก็ตาม
  • ใช้การหาฉันทามติ (consensus) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยมีข้อมูลสุ่มที่เก็บไว้ในแต่ละเครื่องเพื่อให้ค่า hash ที่ได้มีความแตกต่างกัน และคัดเลือกว่าใครได้ค่า hash ก่อนจะเป็นผู้ได้สิทธิในการเขียน block นั้น โดยสุ่มค่าไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ เมื่อเป็นผู้ชนะในการหาฉันทามติจะได้รับรางวัลจากระบบ ซึ่งถูกกำหนดไว้ใน code ของผู้พัฒนา โดย bitcoin จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คาดว่าประมาณปี 2040 จะมีประมาณ 21 ล้าน bitcoin
  • การขุด Bitcoin (Bitcoin mining) คือการตรวจสอบธุรกรรมว่าถูกต้องหรือไม่ และเป็นการแข่งขันกันเพื่อเป็นคนเขียน block นั้น ซึ่งมีการใช้ hash function เพื่อหาค่า hash ที่ถูกต้อง โดยทดสอบค่าไปเรื่อยๆ จึงใช้การประมวลผลสูง ซึ่งต้องใช้พลังงานสูงด้วย (ประมาณ 10^20 รอบต่อครั้งในการแข่งขันเพื่อเขียนแต่ละ block)
  • Satoshi Nakamoto ผู้ก่อตั้ง Bitcoin แท้ที่จริงแล้ว คือ Craig Steven Wright นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และนักลงทุนชาวออสเตรเลีย
  • Block chain คือการเก็บข้อมูล transaction สำหรับการตรวจสอบข้อมูลโดยลดการตรวจสอบด้วยการใช้คน และใช้การตรวจสอบด้วยคอมพิวเตอร์แทน ปัจจุบันมี miner ทั้งหมดประมาณ 9,000 โหนด ส่วนใหญ่อยู่ในแถบยุโรป
  • Bitcoin ในไทยไม่ผิดกฎหมาย แต่หาก bitcoin หายไปหรือมีปัญหา อาจจะไม่มีกฎหมายไทยรองรับในการดำเนินคดี ซึ่ง bitcoin ยังมีความเสี่ยงในการใช้งาน
  • ปัจจุบัน bitcoin ยังไม่มีใครสามารถ hack ได้ การใช้งานขึ้นอยู่กับผู้ใช้งาน
  • ราคา bitcoin ที่ผ่านมามักจะขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นของ bitcoin เอง

การประยุกต์ใช้ Block Chain ในฟินเทค (Fintech)

  • การประยุกต์ใช้ Block chain ในธุรกิจการเงินต่างๆ ทั่วโลกซึ่งปัจจุบันมีการลงทุนใน Startup มากมาย โดยเน้นในเรื่องการโอนเงิน
  • ใช้ Block chain ประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบข้อมูลธุรกรรมทางการเงิน รวมทั้งการซื้อขายสินค้าต่างๆ (Smart Contract)
  • ประยุกต์ใช้ Block chain ในการโอนเงินในธุรกิจธานคารพาณิชย์ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการโอน ลดระยะเวลาในการโอน (เปรียบเทียบกับการโอนเงินต่างประเทศซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายสูงและใช้ระยะเวลานาน) ปัจจุบันบางธนาคารในประเทศไทยมีการใช้งานจริงแล้ว
  • ประยุกต์ใช้ Block chain ในการซื้อขายหุ้น เพื่อลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการซื้อขายแลกเปลี่ยนหุ้น
  • ประยุกต์ใช้ Block chain ในการบริหารจัดการข้อมูลประจำตัวของแต่ละบุคคลที่สามารถใช้ร่วมกันได้ (Identity Management) เปรียบเทียบกับเดิมที่ลูกค้าธนาคารต้องให้ข้อมูลธนาคารแต่ละแห่ง
  • ประยุกต์ใช้ Block chain ในการเก็บข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าแต่ละคน แทนที่จะใช้ข้อมูลอื่นซึ่งตรวจสอบได้ยาก เช่น Social network (facebook / twitter / etc)
  • ประยุกต์ใช้ Block chain ในการจัดเก็บข้อมูลการรักษาพยาบาลของแต่ละบุคคล เพื่อให้สามารถตรวจสอบประวัติการรักษาได้ง่ายและถูกต้องยิ่งขึ้น
  • ประยุกต์ใช้ Block chain ในการใช้ข้อมูลเพื่อการวิจัย โดยให้นักวิจัยซึ่งส่วนใหญ่มีงบประมาณที่สามารถตั้งเครื่อง miner เพื่อแข่งกันเช่นเดียวกับ bitcoin ผู้ชนะจะได้ข้อมูลในแบบ anonymous ไปใช้เพื่อการวิจัย
  • ประยุกต์ใช้ Block chain ในการจัดเก็บไฟล์ (ลักษณะเว็บฝากไฟล์ต่างๆ) โดยจ่ายค่า storage ในการจัดเก็บข้อมูลให้เครื่องที่เปิดให้บริการ ผ่านกระบวนการเช่นเดียวกับ block chain
  • ประยุกต์ใช้ Block chain ในการแก้ปัญหา Blood diamond โดยใช้ block chain ในการเก็บข้อมูลเพชรและการเปลี่ยนมือไปเรื่อยๆ ซึ่งหลักการนี้จะใช้กับข้อมูลในลักษณะ supply chain ได้ทั้งหมด
  • ประยุกต์ใช้ Block chain ในการเก็บข้อมูลการถือครองที่ดิน ที่มีการเปลี่ยนมือและการแก้ไขข้อมูล ซึ่งปัจจุบันบางประเทศมีการใช้งานจริงแล้ว
Line
Facebook
Twitter
Google
การติดตั้งและใช้งาน Datatables ร่วมกับ Angular
[ตอนที่ 16] Social App Workshop ด้วย ASP.NET Core 3 กับ Angular 9 การทำ Sorting
[ตอนที่ 15] Social App Workshop ด้วย ASP.NET Core 3 กับ Angular 9 การทำ Filtering
[ตอนที่ 14] Social App Workshop ด้วย ASP.NET Core 3 กับ Angular 9 การใช้งาน Paging
เตรียม Atom สำหรับ React Native #3
เตรียม Visual Studio Code สำหรับ React Native #2
การติดตั้ง React Native บน macOs #1
การกำหนดค่า TF_MIN_GPU_MULTIPROCESSOR_COUNT เพื่อให้ TensorFlow ใช้งาน GPU ทุกตัว
ติดตั้ง Ubuntu 17.04 ใช้งานร่วมกับ Windows 10
การติดตั้ง TensorFlow & Caffe บน Ubuntu 16.04