ติดตั้ง Ubuntu 17.04 ใช้งานร่วมกับ Windows 10

Line
Facebook
Twitter
Google

การติดตั้ง Ubuntu 17.04 ใช้งานร่วมกับ Windows 10

Ubuntu 16.04 ก็ใช้วิธีเดียวกันนี้ได้เลย

สำหรับคนที่ทำงานโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และต้องการใช้ประสิทธิภาพของเครื่องรวมทั้ง GPU อย่างเต็มที่ หากใช้ Widows แล้วละก็ คงเป็นอะไรที่ขัดใจน่าดู เพราะเราไม่สามารถใช้ทรัพยากรที่เรามีอย่างเต็มที่บน Windows ได้ เนื่องจากว่า ตัว Windows เองก็จองทรัพยากรไว้สำหรับระบบ OS ส่วนหนึ่งแล้ว แต่สำหรับ OS ตระกูล Linux ไม่ใช่แบบนั้น ถึงแม้จะมีการจองทรัพยากรไว้ก็จริง แต่เมื่อเทียบกับ Windows แล้ว ช่างแตกต่างเหลือเกิน

สำหรับบทความนี้ก็จะบันทึกเรื่องการลง Ubuntu 17.04 เพื่อใช้งานสลับกับ  Windows 10 บน Harddisk ลูกเดียว (เนื่องจากยังมีความจำเป็นต้องใช้ Windows สลับกันอยู่บ้าง)

ขั้นตอนการติดตั้ง

  • ติดตั้ง Windows 10 ให้เรียบร้อยและใช้งานได้ตามปกติก่อน
  • แยก Partition ออกจาก Drive C: ของ Windows  (แบ่งพื้นที่ไว้ตั้งแต่แรกเลยก็ได้นะครัย) แล้วปล่อยให้เป็น Free Space ไว้ ไม่ต้องสร้าง Partition สำหรับลง Ubuntu
  • เตรียม USB Thumb Drive สำหรับทำเป็นตัวติดตั้ง Ubuntu 17.04
  • ดาวน์โหลด Ubuntu 17.04 Desktop จาก https://www.ubuntu.com/download/desktop
  • ดาวน์โหลด Rufus (โปรแกรมสร้าง USB สำหรับการติดตั้ง) จาก https://rufus.akeo.ie/
  • สร้าง USB Boot สำหรับติดตั้ง Ubuntu 17.04 Desktop โดยใช้ไฟล์ iso ที่ดาวน์โหลดมา

ภาพตัวอย่างการสร้าง USB Boot Ubuntu 16.04

  • Shutdown Windows 10 แล้ว ตั้งให้เครื่อง Boot ด้วย USB Thumb Drive (เลือก Boot ในโหมด UEFI เพราะถ้าเลือกโหมดอื่น Ubuntu จะมองไม่เห็น Windows 10)

  • [สำหรับคนที่ใช้ GPU Nvidia รุ่นใหม่เท่านั้น] เมื่อ Boot ขึ้นมาแล้วให้ลือกเมนู “Try Ubuntu without installing” แล้วกด “E” แล้วพิมพ์ “nouveau.modeset=0” ในบรรทัดที่เขียนว่า Linux ก่อน — เสร็จแล้วกด F10 เพื่อทำการ Boot

  • ทำการติดตั้ง Ubuntu 17.04 Desktop ตามปกติ โดยให้เลือก “Install Ubuntu 17.04 Alongside Windows 10” ในขั้นตอนก่อนการสร้าง Partition ซึ่งในขั้นตอนนี้ Ubuntu จะถูกติดตั้งใน Free Space ที่เราเตรียมไว้ เราไม่ต้องแบ่ง Partition อีก (ทำแบบนี้ง่ายดีไม่ต้องแบ่งเอง Ubuntu มันจัดการให้หมด) เมื่อติดตั้ง Ubuntu เสร็จให้ทำการ Reboot และถอด USB ตัวติดตั้งออก
  • กดปุ่ม F11 หรือ F12 แล้วแต่ BIOS ของเมนบอร์ด เพื่อเลือกว่าจะ Boot จาก HDD/Partition ไหน โดยให้เลือก Drive ที่มีชื่อเริ่มต้นด้วย ubuntu แบบ UEFI ตามภาพ

  • เมื่อ Boot ขึ้นมาแล้วจะมีเมนูให้เลือก ให้เลือกที่เมนู “Ubuntu” แล้วกด “E” แล้วพิมพ์ “nouveau.modeset=0” ในบรรทัดที่เขียนว่า Linux ก่อน $ เสร็จแล้วกด F10 เพื่อทำการ Boot

  • [สำหรับคนที่ใช้ GPU Nvidia รุ่นใหม่เท่านั้น] เมื่อ Ubuntu ถูกโหลดขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว (อาจจะอยู่ในหน้า Login หรือถ้าตั้ง Auto Login ก็จะเข้า Ubuntu Desktop เลย) ให้กด Ctrl+Alt+F1 จะเจอหน้า Terminal ให้พิมพ์คำสั่งเพื่อติดตั้งและอัพเดต Nividia Graphics Driver ดังนี้
sudo add-apt-repository ppa:graphics-drivers/ppa
sudo apt-get update
sudo apt-get install nvidia-384
sudo reboot 

ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย ครั้งต่อไปก็สามารถเลือก Boot ได้ตามปกติเลยครับ

แถมอีกนิด ถ้า Boot ขึ้นมาแล้วไม่มี Windows ให้เลือก Boot ให้ทำการ Boot ด้วย Ubuntu  แล้วเปิด Terminal พิมพ์คำสั่งดังต่อไปนี้

sudo fdisk -l

sudo update-grub

แล้ว Reboot ก็จะพบว่ามี Windows ให้เลือก Boot จากเมนูของ Ubuntu แล้ว

Line
Facebook
Twitter
Google
การติดตั้งและใช้งาน Datatables ร่วมกับ Angular
[ตอนที่ 16] Social App Workshop ด้วย ASP.NET Core 3 กับ Angular 9 การทำ Sorting
[ตอนที่ 15] Social App Workshop ด้วย ASP.NET Core 3 กับ Angular 9 การทำ Filtering
[ตอนที่ 14] Social App Workshop ด้วย ASP.NET Core 3 กับ Angular 9 การใช้งาน Paging
เตรียม Atom สำหรับ React Native #3
เตรียม Visual Studio Code สำหรับ React Native #2
การติดตั้ง React Native บน macOs #1
การกำหนดค่า TF_MIN_GPU_MULTIPROCESSOR_COUNT เพื่อให้ TensorFlow ใช้งาน GPU ทุกตัว
ติดตั้ง Ubuntu 17.04 ใช้งานร่วมกับ Windows 10
การติดตั้ง TensorFlow & Caffe บน Ubuntu 16.04