สรุป พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562
ภาพรวม
- คกก. วิธีปฏิบัติฯ
- คำสั่งทางปกครอง
- เจ้าหน้าที่ (บุคคล, คณะกรรมการ)
- คู่กรณี
- การพิจารณา
- รูปแบบและผล
- อุทธรณ์
- ขอพิจารณาใหม่
- เพิกถอน
- การบังคับ
- ระยะเวลา, อายุความ
- การแจ้ง
- คกก. ที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครอง
- บทเฉพาะการ
หลวง => คำสั่ง/กฎ/การดำเนินการ => ปชช. (คู่กรณี => ปชช. แท้ ๆ/จนท.รัฐ ในฐานะ ปชช.)
ลักษณะพ.ร.บ.
- ก.ม. กลาง
- ไม่ใช้กับ
- รัฐสภา, ครม.
- องค์กรตาม รธน.
- การพิจารณาของนายก, รมต. ในงานนโยบาย
- การพิพากษาคดีของศาล, การดำเนินงานของ จนท. ในกระบวนพิจารณาคดี บังคับคดี วางทรัพย์
- วินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ก.ม. กฤษฎีกา)
- นโยบายต่างประเทศ
- ทหาร, ยุทธการ
- กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
- องค์กรศาสนา
- อื่น ๆ (ต้องตราเป็น พ.ร.ฎ.)
วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
- เตรียม
- ดำเนินการ
- เจ้าหน้าที่
- คำสั่งทางปกครอง (อะไรที่ไม่ใช่กฏ)
- เจ้าหน้าที่
- กฎหมาย
- ใช้อำนาจตามกฎหมาย
- มีผลตามกฎหมายเป็นการเฉพาะบุคคล/กรณี (ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์)
- ก่อ
- เปลี่ยนแปลง
- โอน
- สงวน
- ระงับ
- กระทบสิทธิหน้าที่
- กฎ (ไม่ใช้เฉพาะบุคคลหรือเฉพาะกรณี)
- การดำเนินการทางปกครอง
เจ้าหน้าที่
- ต้องเป็นกลาง
ห้าม
- เป็นคูกรณี
- คู่หมั้น, คู่สมรส
- ญาติ (บุพการี, ผู้สืบสันดาน, พี่น้อง/ลูกพี่ลูกน้อง 3 ชั้น, ญาติทางการแต่งงาน 2 ชั้น)
- เป็น/เคยเป็น ผู้แทนโดยชอบธรรม, ผู้พิทักษ์, ผู้แทน, ตัวแทน
- เป็นเจ้าหนี้, ลูกหนี้, นายจ้าง
- มีอำนาจตามกฎหมายในเรื่องที่ออกคำสั่ง
ผลจากการที่เจ้าหน้าที่ไม่เป็นกลาง
เจ้าหน้าที่คนเดียว
- หยุดพิจารณา
- แจ้งผู้บังคับบัญชา
เจ้าหน้าที่เป็นคณะ (กรรมการ)
- ออกจากห้องประชุม
- ให้ประธานเสนอ Vote ถ้าเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 กลับเข้าห้องประชุมได้
กรณีนอกจากข้อห้ามความเป็นกลาง 1-5
รู้ตัวเอง => หยุดพิจารณา => แจ้งผู้บังคับบัญชา
เห็นว่าตนไม่ผิด => เฉย ๆ ไว้ ไม่หยุดก็ไม่เป็นไร
ผลหลังจากหยุดพิจารณา
- ที่ทำมาก่อนหยุด ไม่เสียไป
- ไม่ใช้ในกรณีเร่งด่วน เสียหายต่อสิทธิของบุคคล (ถึงแม้จะมีข้อห้าม แต่ถ้าเรื่องนั้นเป็นเรื่องเร่งด่วน เสียหายต่อสิทธิของบุคคล ก็สามารถทำได้โดยไม่ต้องสนใจข้อห้าม)
คู่กรณี
- บุคคล
- คณะบุคคล
- นิติบุคคล
ต้องมีความสามารถ
- อายุ 20 ปี/บรรลุนิติภาวะ
- ก.ม. ให้กระทำการเรื่องนั้นได้
- นิติบุคคล, คณะบุคคล
- นายกประเทศ
การพิจารณาทางปกครองจะเกิดขึ้นเมื่อมีคู่กรณี
- จนท. เรียกคู่กรณีมาออกคำสั่ง
- จนท. ออกคำสั่ง แล้วคู่กรณีขอให้ทบทวน หรือขอโต้แย้งคำสั่ง
บรรยากาศในการพิจารณาทางปกครอง
- เริ่มขึ้นเมื่อคู่กรณีเข้ามามีส่วนร่วม (เข้ามามีส่วนร่วมอย่างไรก็ได้)
- มีส่วนร่วมคือมีการพบกันระหว่าง จนท. กับ คู่กรณี
- ครั้งแรกคู่กรณีจะต้องมาพบ จนท. ด้วยตนเอง (ตัวแทนมาด้วยก็ได้)
- ครั้งต่อไปจะให้ตัวแทนมาคนเดียวก็ได้
ตัวแทน
- ตั้งใจ => ตัวแทนร่วม => คู่กรณีระบุตัวแทนคนเดียวกัน
- ไม่ตั้งใจ => ตัวแทนร่วม => คู่กรณีไม่ได้ระบุตัวแทนคนเดียวกัน แต่ จนท. ให้เลือกตัวแทน ว่าจะเลือกใคร
รูปแบบและผลของคำสั่งทางปกครอง
- หนังสือ
(1) ระบุ ว/ด/ป ชื่อ ตำแหน่ง ผู้ทำคำสั่ง ลงลายมือชื่อ
- วาจา
(1) ถ้าคนรับคำสั่งร้องขอ ให้ทำเป็นหนังสือภายใน 7 วัน นับแต่มีคำสั่ง คนออกคำสั่งออกหนังสือยืนยันคำสั่งให้
- อื่น ๆ
(1) ระบุเหตุผล
- ข้อเท็จจริง
- ข้อกฎหมาย
- ข้อพิจารณาสนับสนุนดุลยพินิจ
เว้น
- ตรงกับที่ขอมา, ไม่กระทบคนอื่น
- รู้กันดีอยู่แล้ว
- ลับ
- เร่งด่วน (ให้เหตุผลภายหลังได้)
(2) เนื้อหาระบุสิ่งใด
- เริ่มต้น, สิ้นสุด จากเวลา
- เริ่มต้น, สิ้นสุด จากเหตุการณ์
- สงวนสิทธิ์ยกเลิก
- หน้าที่ของผู้รับประโยชน์
- ทำ, งดเว้น
- ภาระหน้าที่
- ความรับผิดชอบ
- จัดให้มีข้อกำหนด
- สิทธิอุทธรณ์โต้แย้ง, ระยะเวลาโต้แย้ง (ถ้าไม่ระบุ ให้นับเวลานับแต่วันแจ้งใหม่ หรือ 1 ปี นับแต่วันที่รับทราบคำสั่ง ถ้าไม่ได้แจ้งใหม่แล้วระยะเวลาเดิมสั้นกว่า 1 ปี ก็ให้ภายใน 1 ปี)
ถ้า (1) + (2) = สมบูรณ์
กรณีต่อไปนี้ถือว่าสมบูรณ์
- ออกโดยไม่มีคนยื่นคำขอ => ยื่นคำขอภายหลัง
- ออกโดยไม่แจ้งเหตุผล => แจ้งเหตุผลภายหลัง
- ออกโดยไม่ได้รับฟังเหตุผล => รับฟังภายหลัง
- ออกโดยเจ้าหน้าที่อื่นไม่เห็นชอบ => เห็นชอบภายหลัง
มีผล ใช้ยัน => ตั้งแต่มีผู้รับแจ้งจนกว่าจะเพิกถอน/สิ้นผลโดยเงื่อนเวลา (แก้ไขได้หากผิดเล็กน้อย)
การพิจารณา
เอกสาร ต้องเป็นภาษาไทย (ถ้าทำเเป็นภาษาอังกฤษต้องแปลงเป็นภาษาไทย นับวันที่ยื่นฉบับภาษาไทย)
***ถ้าเป็นภาษาอังกฤษ แต่ จนท. ยินยอมรับไว้ก็ถือว่าใช้ได้
จนท. แจ้งสิทธิคู่กรณี
- ข้อเท็จจริง, โอกาสโต้แย้ง
- ขอดูเอกสาร (ห้ามดูร่างลับ)
- นำทนายเข้ามา
เจ้าหน้าที่
- ตรวจสอบได้ตามความเหมาะสม
- พิจารณาพยานหลักฐาน (เพิ่มเติม) ได้
- แสวงหา
- รับฟัง
- ขอข้อเท็จจริง
- เรียกเอกสาร
- ตรวจสถานที่
ข้อยกเว้นในการไม่แจ้งข้อเท็จจริง
- จำเป็น เร่งด่วน ช้าไปจะเสียหาย
- ระยะเวลาตามกฎหมายล่าช้าออกไป
- ข้อเท็จจริงของคู่กรณีให้ไว้เอง
- เห็นได้ชัดว่าทำไม่ได้
- มาตรการบังคับทางปกครอง
- อื่น ๆ ตามกฎกระทรวง
การอุทธรณ์
- อุทธรณ์ได้ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้ง/ตามกฎหมายนั้น ๆ
- ต้องทำเป็นหนังสือ
- ข้อโต้แย้ง
- ข้อเท็จจริง
- ข้อกฎหมาย
- การอุทธรณ์ไม่มีผลทุเลาคำสั่ง
- เจ้าหน้าที่ต้องพิจารณาโดยเร็ว (ไม่เกิน 30 วัน)
- ถ้า เห็นด้วย => แก้ไข, เพิกถอน
- ถ้า ไม่เห็นด้วย => ส่งต่อผู้มีอำนาจพิจารณา
- ผู้มีอำนาจพิจารณา (ผู้บังคับบัญชา)
- พิจารณาภายใน 30 วัน
- หากไม่ทันให้ทำหนังสือแจ้งคู่กรณี ขยายได้อีกไม่เกิน 30 วัน
การเพิกถอน
จนท.ผู้ออกคำสั่ง, ผู้บังคับบัญชา + แม้พ้นระยะเวลาอุทธรณ์ก็เพิกถอนได้
ไม่ชอบด้วยกฎหมาย = เพิกถอนทั้งหมด, บางส่วน, ย้อนหลังได้, อนาคตได้
ให้ประโยชน์ (กับคู่กรณี) = ให้คำนึงถึงความเชื่อโดยสุจริตของผู้รับกับประโยชน์ (เพิกถอนแล้วอาจทำให้คู่กรณีที่ได้รับประโยชน์ต้องคืนประโยชน์นั้นทั้งหมดหรือบางส่วน)
ไม่ให้ประโยชน์ = คู่กรณีมีสิทธิเรียกค่าทดแทน ภายใน 180 วัน
สุจริต
- ไม่ปกปิด
- ให้ข้อความครบถ้วน
- ไม่รู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมาย, ไม่ประมาทอย่างร้ายแรง
ชอบด้วยกฎหมาย = เพิกถอนทั้งหมด, บางส่วน, อนาคตได้ ***ย้อนหลังไม่ได้
ให้ประโยชน์ (ทั่วไป) = เพิกถอนได้ต้องมีเหตุ (1) ก.ม. ข้อสงวนสิทธิ (2) ผู้รับประโยชน์ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข (3) ข้อเท็จจริงเปลี่ยน (4) กฎหมายเปลี่ยน (5) สาธารณะเสียหาย
ให้เงิน, ทรัพย์สิน เพิกถอนได้ต่อเมื่อ คู่กรณีไม่ปฏิบัติ, ล่าช้า (วัตถุประสงค์+เงื่อนไข)
ระยะเวลาและอายุความ
วันแรก
กำหนด ว/ด/ป ให้นับวันถัดไปเป็นวันที่ 1
วันสุดท้าย
#กรณีเจ้าหน้าที่ นับวันหยุดด้วย
#กรณีบุคคลทั่วไป นับวันทำการแรกเป็นวันสุดท้าย
การแจ้ง
1-15 คน
วันถึง
- วันที่มีคนรับ
- หากไม่มีคนรับให้ถือวันที่คำสั่งฯ ไปถึงภูมิลำเนาหรือปิดไว้ที่ภูมิลำเนา
- หากส่ง ปณ. ตอบรับ
– ในประเทศ ครบ 7 วันที่ส่ง
– ต่างประเทศ ครบ 15 วันที่ส่ง
ส่งทีละหลายคน
พ้น 15 วัน นับแต่
- 16-100 คน ปิดประกาศ ณ ที่ทำการของเจ้าหน้าที่, ที่ว่าการอำเภอของผู้รับ
- 100+ คน หรือไม่รู้ตัวผู้รับ ประกาศในหนังสือพิมพ์
การขอพิจารณาใหม่
- คดีเสร็จสิ้นไปแล้ว
- ระยะเวลาในการอุทธรณ์ผ่านพ้นไปแล้ว หรือพิจารณาอุทธรณ์ไปแล้ว
ต้องมีเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังนี้
- มีพยานหลักฐานใหม่
- คู่กรณีที่แท้จริงมิได้เข้ามาในการพิจารณา
- เจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจทำคำสั่งทางปกครอง
- ข้อเท็จจริง, กฎหมายเปลี่ยน
ต้องยื่นคำขอภายใน 90 วัน นับแต่วันที่รู้ถึงเหตุนั้น
เหตุที่ 1-3 คู่กรณีต้องไม่รู้อยู่ก่อนแล้ว ต้องเป็นการรู้ภายหลังเท่านั้น
ข้อแตกต่างของการอุทธรณ์กับการขอพิจารณาใหม่คือ
- การอุทธรณ์ คดียังไม่สิ้นสุด
- การขอพิจารณา คดีสิ้นสุดไปแล้ว
การบังคับ
เนื้อหาจะอยู่ใน พ.ร.บ. ที่แก้ไขเปลี่ยนแปลง มีการเพิ่มเติมหมวด 2/1 (การบังคับทางปกครอง) เป็นการเพิ่มเนื้อหาใหม่ จุดสำคัญคือการบังคับ
มี 2 ประเภท
- บังคับให้ชำระเงิน
- การสืบทรัพย์
- ให้อัยการสูงสุดช่วยได้
- ถ้ามากกว่า 2 ล้านบาท จ้างนักสืบเอกชนได้
- วิธีการสืบทรัพย์
- สืบจากธนาคาร
- สืบจากนายทะเบียน (ที่ดิน, รถยนต์, อื่น ๆ)
- การสืบทรัพย์
- บังคับให้กระทำหรือละเว้นกระทำ
- ทำแทน (คู่กรณีต้องจ่ายค่าทำแทน อาจมีเงินเพิ่มรายวัน)
- ค่าปรับบังคับการ (ค่าปรับที่คิดทุกวันระหว่างที่ฝ่าฝืนคำสั่ง ไม่เกิน 50000 บาทต่อวัน)
ผู้ใช้อำนาจบังคับทางปกครอง
- เจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่ง (เงิน, ทำ)
- เจ้าพนักงานบังคับคดี (เฉพาะการบังคับให้ชำระเงิน)
- เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่มีความเชี่ยวชาญในการทวงหนี้
- ขอหมายศาลบังคับคดี จากศาล ภายใน 10 ปี ส่งให้กรมบังคับคดี
ข้อห้ามการบังคับทางปกครอง (ปกติจะเป็นการบังคับให้ชำระหนี้)
- ห้ามใช้บังคับหน่วยงานของรัฐ
- ห้ามใช้บังคับกับคำสั่งทางปกครองที่อยู่ระหว่างทุเลาการบังคับ
- ห้ามใช้บังคับเกินความจำเป็น
- ห้ามใช้บังคับซ้ำกับคำพิพากษาของศาล (ปกติแล้วการบังคับทางปกครองจะเกิดก่อนการฟ้องศาล)
ผู้ถูกบังคับ => เจ้าตัว (คู่กรณี)
- บุคคล => ตาย
- ผู้รับมรดก
- ผู้จัดการมรดก
- นิติบุคคล
- ผู้ชำระบัญชี กรณีเลิกกิจการ
- นิติบุคคลที่ควบรวมกิจการ กรณีควบรวมกิจการ
สิทธิของผู้ถูกบังคับ
- อุทธรณ์ได้
- ถ้าถูกบังคับแทนเจ้าตัว กรณีผู้ถูกบังคับตาย/นิติบุคคลเลิก/ควบกิจการ ต้องมีการแจ้งสิทธิอุทธรณ์ใหม่ และระยะเวลาอุทธรณ์ต้องนับใหม่ ตั้งแต่ได้รับแจ้ง
วิธีการบังคับ
หนี้เงิน
- มีหนังสือเตือนให้ชำระหนี้ภายใน 7 วัน
- ถ้าเบี้ยว => ยึด/อายัด
- ออกคำสั่งยึด/อายัด แล้วต้องดำเนินการภายใน 10 ปี นับแต่กำหนดชำระสิ้นสุด (ต้องเริ่มดำเนินการแล้ว แต่ไม่เสร็จก็ได้)
- ขายทอดตลาด (ขอเฉลี่ยทรัพย์กับคนอื่นได้)
หนี้ทำ
- ทำหนังสือเตือน กำหนดระยะเวลาให้ทำตาม (ระบุค่าปรับ, มารตรการบังคับ, ค่าใช้จ่าย, เงินเพิ่มรายวัน)
- เรียกค่าปรับบังคับการ/เข้าทำแทน
- ใช้ไม่ได้จึงเปลี่ยนมาตรการได้ (ขอ ตร. ช่วยบังคับตามมาตรการได้)